•  

    02-416-0576 - 76

  •  

    prasitjitnipit@hotmail.com - Line ID : PSJNP

ลักษณะเฉพาะของวงกบและบานประตู Fiberdore

แผ่นผิวหน้าบานประตูหล่อขึ้นรูปโดยอัตราส่วน เรซิน 70% ต่อ ใยแก้ว 30% หล่อขึ้นรูปลายลูกฟักตามแบบประตูสมัยก่อน เป็นเนื้อเดียวกันทั้งแผ่นและมีลายไม้เลียนแบบประตูไม้สัก มีความหนาของแผ่น 3.5 ม.ม. กรอบบานและวงกบ ซึ่งเป็นวัสดุเนื้อเดียวกัน แต่ออกแบบให้มีความแข็งแรงมากขึ้นโดยใช้อัตราส่วน เรซิน 30% ต่อใยแก้ว 70% สัดส่วนตัวเสริมแรงที่เพิ่มขึ้น

การทำสีประตูไฟเบอร์กลาส

การทำสีประตูไฟเบอร์กลาส จัดได้ว่าเป็นงานที่ต้องมีความสามารถ และ ประสบการณ์สูง จะต้องรู้เกี่ยวกับงานประตูไฟเบอร์กลาสรู้เกี่ยวกับชนิดของสี และ รู้ถึงอัตราส่วนผสมต่างๆ ถึงจะสามารถทำงานสีออกมาได้สวยงาม กลมกลืน เพื่อให้เหมือนกับประตูไม้จริง ซึ่งมีลวดลายที่หลากหลาย การทำจึงเป็นการทำสีให้เป็นไปในลักษณะการดึงความสวยงามของลายไม้ออกมาโชว์เป็นจุดเด่น เราจึงมีการย้อมสีแต่งลายประตูไฟเบอร์กลาส ให้ออกมาสวยเหมือนไม้ที่มีราคาแพง

การใช้งานและข้อควรระวังในการติดตั้งบานประตูไฟเบอร์กลาส

เนื่องจากคุณสมบัติที่ดีหลายประการของบานประตู Fiberdore โดยเฉพาะการทนน้ำและสามารถทำสีได้จึงเหมาะสำหรับการตกแต่งที่เน้นคุณภาพและประโยชน์ใช้สอย ไม่ว่าจะเป็นประตูบานเดี่ยว-บานคู่สำหรับภายนอก บานทึบภายในห้องนอน บานกระจกสำหรับห้องรับแขกหรือห้องประชุม บานเกล็ดสำหรับห้องครัว หรือแม้แต่ในห้องน้ำ ที่ต้องการสีสัน นอกจากผู้ใช้สามารถทำสีเองได้แล้ว เพื่อให้สะดวกกับการใช้งาน บานประตู Fiberdore ยังมีบริการทำสีพิเศษสำเร็จรูปถึง 6 เฉดสีให้เลือก มีแบบลายลูกฟักให้เลือก 8 แบบ และมีขนาดมาตรฐานให้เลือกใช้ถึง 5 ขนาด

สาระน่ารู้งานประตูไฟเบอร์

บานประตูไฟเบอร์กลาส หรือชื่อที่ถูกต้องเป็นทางการคือบานประตูโพลิเอสเตอร์เสริมใยแก้ว เป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากการนำเอาเทอร์โมเซ็ทพลาสติกชนิดโพลิเอสเตอร์เรซิ่นไม่อิ่มตัวซึ่งจะเป็นของเหลวหนืดเหมือนน้ำเชื่อม เมื่อผสมตัวทำแข็ง (Hardener) แล้วแข็งตัว จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างหรือหลอมเหลวอีกถึงแม้จะได้รับความร้อนก็ตาม สามารถทนความร้อนได้ถึง 120 องศาเซลเซียสโดยที่วัสดุไม่มีการเสียหาย พลาสติกชนิดนี้เรียกสั้นๆว่า "เรซิน" (RASIN) นำมาเสริมความแข็งแรงด้วยเส้นใยที่ผลิตมาจากทรายซึ่งมีความเหนียวและแข็งแรงมาก เรียกว่า "ใยแก้ว" *หมายเหตุ วัสดุชนิดนี้สามารถเรียกได้หลายอย่าง เช่น ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เรียกว่าโพลิเอสเตอร์เสริมใยแก้ว แต่ทั่วไปจะเรียกว่า Fiberglass Reinforce Plastic (F.R.P.) หรือ พลาสติกเสริมแรงซึ่ง ส่วนใหญ่จะเข้าใจและเรียกสั้นๆว่า " ไฟเบอร์กลาส"